.

เกี่ยวกับชื่อผู้ส่ง
(Sender Name)

เรียนรู้และทำความเข้าใจถึงความสำคัญ
ก่อนที่คุณจะส่งข้อความกับ SMS2PRO

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ชื่อผู้ส่ง (Sender Name) ก่อนส่งข้อความ

ชื่อผู้ส่ง (Sender Name) คืออะไร?

ชื่อผู้ส่ง (Sender Name) คือ
ชื่อหรือหมายเลขที่ปรากฏเป็นต้นทางของข้อความ SMS ที่ผู้รับเห็นเมื่อได้รับข้อความ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณได้รับ SMS จากธนาคาร ชื่อผู้ส่งอาจเป็น "ABank" แทนที่จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์

ความสำคัญของชื่อผู้ส่ง (Sender Name) ต่อการส่งข้อความ

1. สร้างความน่าเชื่อถือ
    ช่วยให้ผู้รับมั่นใจว่าข้อความมาจากแหล่งที่ถูกต้อง เช่น ธนาคาร บริษัท หรือองค์กร
2. เพิ่มโอกาสในการเปิดอ่าน
    หากชื่อผู้ส่งมีความน่าเชื่อถือและชัดเจน ผู้รับมีแนวโน้มที่จะเปิดอ่านมากกว่าข้อความที่มาจากหมายเลขไม่รู้จัก
3. ป้องกันการปลอมแปลง (SMS Spoofing)
    การใช้ชื่อผู้ส่งที่ได้รับการรับรองช่วยลดความเสี่ยงจากมิจฉาชีพที่อาจใช้หมายเลขสุ่มส่งข้อความหลอกลวง
4. สื่อถึงแบรนด์และองค์กร
    สำหรับธุรกิจ การใช้ชื่อผู้ส่งเป็นชื่อบริษัทช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
5. ปรับแต่งให้เหมาะสมกับแคมเปญการตลาด
    สามารถใช้ชื่อที่สื่อถึงโปรโมชั่นหรือบริการเฉพาะได้

องค์ประกอบที่ต้องใช้ในการยื่น ขออนุมัติใช้งาน

1. ชื่อผู้ส่ง (Sender Name)
    หมายถึง ชื่อที่ต้องการใช้ในการส่งข้อความ เช่น ชื่อบริษัท มีความยาว 3 - 11 ตัวอักษร โดยจะต้องเป็นอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งนี้อนุญาตให้ใช้ตัวเลขร่วมกันได้
(ชื่อ Sender Name ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการพนัน เลี่ยงการใช้เลขเบิ้ล เช่น 888,168 รวมถึงชื่อต้องมีความ สอดคล้องกับ Link Website ที่แนบเข้ามาและต้องสามารถตรวจสอบได้)
2. ประเภทการใช้งาน มี 2 ประเภท
    - Marketing คือข้อความประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด แจ้งเตือนนัดหมายต่างๆ
    - OTP คือการขอรหัสยืนยันตัวตน
3. ตัวอย่างข้อความ
    กรุณาระบุตัวอย่างข้อความที่ต้องการใช้งาน ควรระบุตัวอย่างข้อความที่ชัดเจนและถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น หากต้องการส่งข้อความประเภท Marketing ควรระบุข้อความในเชิงการตลาด หรือการประชาสัมพันธ์ หากต้องการส่งข้อความประเภท OTP ควรต้องระบุข้อความที่ใช้เพื่อยืนยันการใช้งาน หรือรหัสต่าง ๆ
4. ลิงก์เว็ปไซต์หรือหน้าร้านค้าที่เป็นจริง
    เพื่อใช้อ้างอิงตัวตนร้านค้าออนไลน์ของผู้ใช้งานว่ามีตัวตนจริง และไม่เป็นอันตรายหรือขัดต่อกฏหมายซึ่งสามารถตรวจสอบได้ สามารถเพิ่มลิงก์ได้สูงสุด 5 ลิงก์
5. หนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LOA)
    หากต้องการยื่น Sender Name เป็นประเภท Whitelist (SMS ประเภทข้อความสำคัญ)
6. หนังสือรับรองนิติบุคคล (Business Registration Certificate)
    หากต้องการยื่น Sender Name เป็นประเภท Whitelist ไม่ว่าจะเป็นการส่ง SMS แบบ OTP หรือ Marketing จำเป็นต้องยื่นเอกสารนี้
*ชื่อผู้ส่ง (Sender Name) ที่เป็น Marketing ทั่วไปไม่จำเป็นต้องแนบเอกสารนี้

เงื่อนไขการอนุมัติใช้

ก่อนเริ่มต้นส่งข้อความ ในขั้นตอนแรกจำเป็นจะต้องยื่นขอชื่อผู้ส่ง (Sender Name)
โดยผู้ใช้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด และเป็นไปตามมาตรการของ กสทช. ดังนี้

1. Sender Name ต้องมีตัวอักษรหรือตัวเลขรวมกันตั้งแต่ 3-11 ตัวอักษร
รวมถึงอักขระพิเศษได้แก่ . (dot) - (Hyphen) _ (underscore) และใช้ Spacebar ได้
**อนุญาตให้ใช้ตัวอักษรพิเศษได้ 1 ตัว / 1 ชื่อ
**อนุญาตให้ใช้เพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้นอย่างน้อย 1 ตัว สามารถใช้ได้ทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่
**ไม่อนุญาตให้ใช้อักขระพิเศษดังกล่าวไว้หน้าสุดหรือหลังสุดของชื่อ และใช้ spacebar ติดกับอักขระพิเศษ
2. Sender Name ที่ขออนุมัติห้ามใช้คำหยาบคาย ไม่สุภาพ หรือ คำที่เข้าข่ายเกี่ยวข้องกับการพนัน
**(เช่น CASINO,LOTTO,SLOT,BET,PUSSY,KING ฯ)
3. ระยะเวลาในการขออนุมัติ Sender Name ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละเครือข่าย
**(ประมาณ 3-5 วันทำการ)
4. ต้องกรอกเว็บไซต์ ที่เป็นบริษัทหรือร้านค้าที่เป็นจริงและไม่เกี่ยวข้องกับพนัน
**(ไม่สามารถใช้ Link Facebook page ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 6 เดือน / Blog Content / Line Add Friend / TikTok / Instagram / Link อื่น ๆ ที่ไม่สามารถระบุตัวตน หรือบริษัทของผู้ใช้งาน รวมถึงเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์)
5. Sender Name ต้องมีความสอดคล้องทางธุรกิจกับ Reference Website ของผู้ใช้บริการ
6. ผู้ใช้บริการต้องระบุตัวอย่างข้อความที่ชัดเจนและถูกต้องตามวัตุประสงค์การใช้งาน
**(เช่น ต้องการส่งข้อความประเภท Marketing : ต้องระบุข้อความที่เป็นเชิงการตลาด หรือ ประชาสัมพันธ์ , หากต้องการส่งข้อความประเภท OTP : ต้องระบุข้อความที่ใช้ในการยืนยันการเข้าใช้งาน หรือ รหัสต่าง ๆ) **ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ระบุ ตัวอย่างข้อความ ทางบริษัทจะไม่สามารถส่งเรื่องดำเนินการไปยัง Providers ได้ทุกกรณี**
7. ระบบจะทำการแจ้งผลการขออนุมัติ ไปยัง Email ที่ผู้ใช้งานทำการลงทะเบียนไว้
หรือผู้ใช้งานสามารถเข้าดูสถานะหน้าระบบในเมนู “ชื่อผู้ส่ง” ได้
ความแตกต่างระหว่าง SMS 2 ประเภท ที่ต้องรู้ !
เนื่องจากการยื่นขอชื่อผู้ส่ง (Sender Name) จำเป็นต้องระบุประเภทการใช้งานว่าผู้ใช้งาน ต้องการนำชื่อผู้ส่งนั้นๆไปใช้กับการส่งข้อความ ด้วยวัตถุประสงค์ใด เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบ ความเหมาะสมและทำการอนุมัติใช้งานได้
SMS ประเภทข้อความสำคัญ
(Whitelist SMS)
• ข้อความจากหน่วยงานราชการ
   เช่น แจ้งเตือนชำระค่าไฟ, แจ้งเตือนฉุกเฉิน
• ข้อความจากสถาบันการเงินต่างๆ
   เช่น ธุรกรรมทางการเงิน, ส่งรหัส OTP
• ข้อความสำหรับสมาชิก
   เช่น แจ้งส่วนลดพิเศษ, แจ้งเตือนสถานะการจัดส่ง
การขออนุมัติ ชื่อผู้ส่ง (Sender Name)
• *จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมในการขออนุมัติ Sender Name คือ

- หนังสือรับรองนิติบุคคล (Business Registration Certificate) 

- หนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LOA) จะต้องยื่นในตอนที่ขอ Sender Name ใหม่ทุกครั้ง
SMS ประเภทข้อความประชาสัมพันธ์
(Marketing SMS / Non-Whitelist SMS)
• ข้อความโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการต่างๆ
   เช่น แจ้งโปรโมชั่น, อัปเดตข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ข้อความประเภทนี้อาจกลายเป็นข้อความกวนใจผู้รับได้ ซึ่งผู้รับสามารถบล็อกข้อความประเภทนี้ผ่าน Call Center ของผู้ให้บริการในเครือข่ายที่ใช้งาน
การขออนุมัติ ชื่อผู้ส่ง (Sender Name)
• ไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมในการขออนุมัติ Sender Name
ความสำคัญของ ลิงก์ URL ที่ต้องสอดคล้องกับ
ชื่อผู้ส่ง (Sender Name)
ตามนโยบายด้านความปลอดภัยจาก กสทช. ชื่อผู้ส่ง (Sender Name) จำเป็นจะต้องเหมือนกันกับลิงก์ URL ที่ใช้แนบส่งข้อความนั้นๆ
รวมถึงในตอนที่ยื่นขอชื่อผู้ส่งใหม่กับระบบ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องยื่นตัวอย่างลิงก์ (reference link) ที่สอดคล้องกับชื่อผู้ส่ง (Sender Name) โดยเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบลิงก์นั้น ๆ ว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัยต่อผู้รับข้อความ ก่อนอนุมัติใช้งาน
an NBTC
ขั้นตอนการขอชื่อผู้ส่ง
(Sender Name)
ก่อนที่ผู้ใช้งานจะเริ่มส่งข้อความได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีชื่อผู้ส่ง (Sender Name) ก่อนเสมอ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
เมื่อลงชื่อเข้าใช้งานระบบครั้งแรก ผู้ใช้งานต้องยืนยันตัวตนก่อน เพื่อระบุตัวตนสำหรับการสั่งซื้อ การออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี และการใช้ Sender Name สำหรับการส่งข้อความประเภทต่างๆ ซึ่งต้องใช้หลักฐานการยืนยันที่แตกต่างกัน โดยบัญชีผู้ใช้งานแบ่งเป็น 2 ประเภท:

1. บุคคลธรรมดา
2. นิติบุคคล
1
หลังจากยืนยันตัวตนแล้ว ผู้ใช้งานสามารถยื่นขอ Sender Name โดยเลือกประเภทการใช้งาน SMS ได้แก่:
1. Marketing
2. OTP
*จำเป็นต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคลและหนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LOA) ทุกครั้ง*
2
เมื่อเลือกประเภทชื่อผู้ส่งแล้ว ผู้ใช้งานสามารถกำหนดชื่อผู้ส่ง พร้อมแนบลิงก์และข้อความตัวอย่างให้สอดคล้องกับการใช้งาน เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้อง และทำความเข้าใจเงื่อนไขก่อนกดส่งขออนุมัติ
3
หลังจากได้รับอนุมัติ ผู้ใช้งานสามารถเริ่มส่งข้อความหรือสร้างแคมเปญ หากมีการแนบลิงก์ URL ในข้อความ จำเป็นต้องให้ URL และ Sender Name ตรงกัน เมื่อกดส่งข้อความ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบ URL และพิจารณาอนุมัติ หากเป็นไปตามมาตรการของ กสทช. ข้อความหรือแคมเปญจะถูกส่งสำเร็จ
4
เลือกใช้งาน SMS2PRO
 ได้อย่างไร้กังวลด้วยมาตรฐานสากล
.
ISO Logo (Red square) 1 result
ISO/IEC 29110-4-1:2018
Software Project Management and Software Implementation Process
ดูใบอนุญาต
nbtc logo img
มาตรฐาน กสทช.
ได้รับการรับรองมาตรฐานในการให้บริการส่งข้อความสั้น (Short Message Service: SMS) โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ดูใบอนุญาต
Copyright © 2025 Supported by SMS2PRO
iso white
ISO/IEC 29110-4-1:2018
Software Project Management and
Software Implementation Process
nbtc logo img
National-licensed
and ready to deliver secure,
reliable SMS services
cross