CSR ย่อมากจาก Corporate Social Resposibility แปลออกมาให้เข้าใจง่ายๆ CSR คือ รูปแบบการทำธุรกิจรูปแบบนึงที่บริษัทหรือองกรค์แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่วนมากจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบของกิจกรรมเพื่อสังคมที่ดำเนินการภายใต้หลักจริยธรรมอันดีทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อแสดงออกถึงความตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
การทำ CSR นั้นสำคัญต่อธุรกิจและองค์กรอย่างมาก เพราะในทุกๆองค์กรจะไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องได้รับการเกื้อหนุนจากสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ โดยปกติแล้วกระบวนการดำเนินกิจการของบริษัทมักส่งผลเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมทางตรง และส่งผลต่อสังคมทางอ้อม เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น SMS2PRO ขอยกตัวอย่างประเภทบริษัทที่มีการใช้ไฟฟ้าในการดำเนินการ เช่น การใช้งานของ Laptop หรือ คอมพิวเตอร์ ในออฟฟิศ ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการปล่อยก๊าซก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา หรือบริษัทผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ ที่มีการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องจักรจำนวนมาก และขยะบรรจุภัณฑ์อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี หรือแม้กระทั่งหน่วยงานที่มีการใช้กระดาษในการจดบันทึกจำนวนมาก ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระดาษอาจจำไปสู่มลพิษทางดินและอากาศ
จากที่กล่าวไปข้างต้นล้วนแสดงให้เห็นว่าการขั้นตอนการดำเนินกิจการของธุรกิจส่วนมากล้วนส่งผลเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่เชิงตรงก็เชิงอ้อม ด้วยเพราะฉะนั้นการส่งเสริมให้มีการทำ CSR ถือเป็นหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสังคมทั้งภายในและภายนอก ที่สำคัญสามารถสร้างความน่าวางใจรวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ในสายตาคนภายในสังคมได้
การมีส่วนร่วมใน CSR หมายความว่า บริษัทดำเนินการหลีกเลี่ยงหรือลดความเสียหายในกระบวนการดำเนินกิจการที่ส่งผลเชิงลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม หรือการดำเนินการในลักษณะที่ส่งเสริมหรือเป็นผลดีต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหลักการทำ CSR มากขึ้น SMS2PRO ขออธิบายประเภทของการทำ CSR ว่ามีอะไรบ้าง
โดยทั่วไป ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมีอยู่ 4 ประเภทหลัก บริษัทอาจเลือกที่จะมีส่วนร่วมแค่บางประเภท การขาดการมีส่วนร่วมในประเภทอื่นไม่จำเป็นต้องกีดกันบริษัทจากการรับผิดชอบต่อสังคม
ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการดำเนินการอนุรักษ์ธรรมชาติขององค์กร ถือเป็นประเภทความรับผิดชอบต่อสังคมที่สำคัญที่สุดอย่างนึง บริษัทสามาถเข้าร่วมได้ด้วยการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุด หรือสนับสนุนการลดกิจกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และควรมีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมชัดเจน ถึงผลลัพธ์ที่ได้ว่าจะส่งผลเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าก่อนดำเนินกิจกรรม บริษัทมักดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่าน:
เป็นการทำ CSR เพื่อความรับผิดชอบทางจริยธรรมถือเป็นสิ่งสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ยึดมั่นในการดำเนินการอย่างยุติธรรมและมีจริยธรรม บริษัทมักกำหนดมาตรฐานของตนเอง แม้แรงผลักดันจากภายนอกหรือความต้องการของลูกค้าอาจส่งผลต่อการกำหนดเป้าหมายทางจริยธรรม ตัวอย่างความรับผิดชอบทางจริยธรรม ได้แก่ :
ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นความรับผิดชอบขององค์กรที่ปรับเปลี่ยนวิธีที่บริษัทดำเนินการเพื่อช่วยเหลือสังคม อธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆคือ การวิธีที่บริษัทใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้โลกน่าอยู่ขึ้น และส่งผลเชิงบวกต่อสังคม บริษัทมักแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่าน:
ความรับผิดชอบทางการเงินเป็นขององค์กรเชื่อมโยงสามด้านข้างต้น บริษัทสนับสนุนกิจกรรมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จริยธรรม และสังคมขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ่านการลงทุนทางการเงินของโครงการ การบริจาค หรือค่าใช้จ่ายในการวิจัยผลิตภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายดังนี้:
หลักสำคัญของการดำเนินการตามเเนวทาง CSR ควรจะอยู่บนหลักพอควรที่ธุรกิจจะไม่เดือดร้อนตัวเอง และไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมในเวลาเดียวกัน แม้ว่าการทำ CSR จะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ตลาด แม้กระนั้นจึงควรวางวิธีการให้ดี ไม่ให้คนอื่นรู้สึกได้ว่า เป็นการสร้างภาพลักษณ์มากเกินไป ที่สำคัญควรจะทำด้วยใจจริง ไม่ใช้เพียงเพื่อสร้างผลตอบแทนแก่หน่วยงานเพียงแค่นั้นแต่ว่าชุมชน มูลนิธิ หรือคนอื่นก็จะได้รับคุณประโยชน์ไปด้วย
CSR มีความสำคัญต่อสังคมและบริษัทเท่าๆกัน กิจกรรม CSR สามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างพนักงานและองค์กร เพิ่มขวัญกำลังใจ และช่วยให้พนักงานและนายจ้างรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น นอกเหนือจากผลกระทบเชิงบวกต่อโลกแล้ว ต่อไปนี้คือเหตุผลเพิ่มเติมบางประการที่ธุรกิจใช้กลยุทธ์ CSR
ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญและให้คุณค่าต่อบริษัทที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคมากกว่าบริษัทที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่บริษัทอาจมีต่อสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ และการทำ CSR ของธุรกิจยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันหลายบริษัทหันมามีส่วนร่วมใน CSR มากขึ้น ผู้บริโภคจึงมีแนวโน้มที่จะยอมรับแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ที่ดีผ่านการแสดงความรับผิดชอบขององค์กร
องค์กรที่สนับสนุนพนักงานให้ทำหน้าที่เป็นผลประโยชน์ต่อสังคม สามารถส่งเสริมการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน พนักงานที่ไม่พอใจ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดของพนักงานใหม่
การลดความเสี่ยสำหรับกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มพนักงาน การละเลยทรัพยากรธรรมชาติ หรือการใช้เงินทุนของบริษัทอย่างผิดจรรยาบรรณ กิจกรรมประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การฟ้องร้อง การดำเนินคดี หรือการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งบริษัทอาจได้รับผลกระทบด้านลบทางการเงินและถูกบันทึกไว้ในข่าวพาดหัว โดยการปฏิบัติตามแนวทาง CSR บริษัทต่างๆ สามารถลดความเสี่ยงโดยการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
จากการศึกษาของ Boston Consulting Group บริษัทที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้นำในเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือสังคม มักถูกประเมินมูลค่า 11% เหนือคู่แข่ง สำหรับบริษัทที่มองหาความได้เปรียบและเหนือกว่าตลาด การบังคับใช้กลยุทธ์ CSR มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในทางบวกต่อความรู้สึกของนักลงทุนที่มีต่อองค์กรและมุมมองที่พวกเขาเห็นคุณค่าของบริษัท
ด้วยลูกค้ากว่า 100 ล้านคนทั่วโลกที่สตรีมเนื้อหา Netflix มากกว่า 125 ล้านชั่วโมงต่อวัน Netflix มีเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เครือข่ายการจัดส่งใช้พลังงานจำนวนมากในการทำงาน ตามรายงานล่าสุดของ Netflix ในปี 2560 Netflix ได้ทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนี้ กลยุทธ์ของบริษัทเกี่ยวกับความยั่งยืนมีดังนี้: “ใช้ไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ใช้พลังงานหมุนเวียนสำหรับไฟฟ้าที่เราบริโภคโดยตรงในโรงงานที่เราเป็นเจ้าของ และส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนหรือชดเชยพลังงานที่ไม่หมุนเวียนในโรงงาน” . ในปี 2560 Netflix ได้ประกาศเข้าร่วมในโปรแกรม Green Power Partnership ของ EPA ซึ่งเป็นโครงการโดยสมัครใจที่ธุรกิจต่างๆ มุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการบริโภคไฟฟ้าบางส่วนหรือทั้งหมดต่อปี
Case Study ของ Netflix แสดงให้เห็นถุงการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติตามหลัก CSR ที่ชัดเจน การแสดงความรับผิดชอบของ Netflix ที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแสดงให้เห็นว่าบริษัทได้เพิ่มความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจ แม้ว่ากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของ Netflix จะได้รับการชื่นชม แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าบริษัทยังคงปฏิบัติตามกลยุทธ์นี้หรือไม่ เนื่องจากรายงานด้านสิ่งแวดล้อมล่าสุดเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ยังไม่มีการอัปเดตโดย Netflix เกี่ยวกับความคืบหน้าที่พวกเขาทำต่อความพยายามเหล่านี้
Starbuck เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและความมุ่งมั่นต่อการอนุรักษ์ความยั่งยืนของชุมชน Starbuck 100% ของกาแกจาก Starbuks นั้นนำมาจากแหล่งผลิตเม็ดกาแฟโดยตรง สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเกษตรกรทั่วโลก และจัดหาต้นไม้ 100 ล้านต้นให้กับพวกเขาภายในปี 2568 เป็นผู้บุกเบิกการสร้างอาคารสีเขียวทั่วทั้งร้านค้า มีส่วนช่วยเหลือชุมชนหลายล้านชั่วโมง และสร้างโปรแกรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับพนักงาน
SMS2PRO หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการทำความเข้าใจแก่นแท้ของ CSR และตัวเลือกแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
References
Netflix. (2017). Renewable Energy at Netflix: An Update. https://about.netflix.com/en/news/renewable-energy-at-netflix-an-update
Fernando, J. (2022). Corporate Social Responsibility (CSR) Explained With Examples https://www.investopedia.com/terms/c/corp-social-responsibility.asp
บทความที่เกี่ยวข้อง