ภัยพิบัติในปัจจุบันเริ่มรุนแรงขึ้นมากขึ้นทุกทีทั้งอุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินส่วนตัวและสาธารณะเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการสูญเสียคนสำคัญ
จะดีกว่าหรือไม่หากเราได้รับรู้การมาถึงของภัยพิบัติทั้งหลายก่อนที่จะเกิดเหตุผ่าน SMS Alert เพื่อความเตรียมพร้อมในการรับมือและแก้ไขสถานการณ์ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
แม้ SMS Alert จะยังไม่มีในทุกประเทศทั่วโลก แต่หลายประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้งได้ตระหนักถึงความสำคัญของ SMS ตัวนี้ และได้เริ่มทำการพัฒนา จนก้าวมาสู่การใช้จริงบ้างแล้ว
ประเทศไทยเองก็เริ่มดำเนินการพัฒนาทำ SMS Alert เพื่อแจ้งเตือนคนไทยถึงเหตุการ์รุนแรงก่อนที่จะเกิดเพื่อเตรียมตัวรับมือได้อย่างถูกวิธี
อ้างอิงจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในประเทศ ได้แก่ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) , บริษัท ดีแทคไตรเน็ต จำกัด(dtac) , บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)(TRUE) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) ได้เริ่มทำการพัฒนา SMS Alert ให้กับประชาชนในประเทศ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 ทางโอเปอร์เตอร์ได้ส่ง SMS Alert ไปแล้วทั้งสิ้น 4 ครั้ง
นอกจากในประเทศไทยจะมีการเตือนภัยผ่าน SMS แล้ว ยังมีประเทศอื่นอีกที่ทำข้อความเตือนภัย เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย กรีซ โรมาเนีย ฯลฯ
อ้างอิงจากเนื้อหาข้างต้นในทุกทวีปทั่วโลกต่างประสบกับภัยพิบัติไม่ต่างกัน จึงเกิดการคิดค้นและพัฒนา SMS เพื่อเตือนภัยขึ้นให้กับประชาชนในประเทศของตนเอง
เนื่องจากทวีปยุโรปมีพื้นที่ที่ค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นการมี SMS Alert จึงมีความสำคัญที่แตกต่างกันไปตามแต่ละกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งมีตัวย่อใช้แทนที่ต่างกัน เช่น
NL-Alert : ประเทศเนเธอร์แลนด์
GR-Alert : ประเทศกรีซ
LT-Alert : ประเทศลิทัวเนีย
RO-Alert : ประเทศโรมาเนีย
IT-Alert : ประเทศอิตาลี
ทางคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้มีการตกลงกันว่า ประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแล หรือก็คือประเทศสมาชิกทุกประเทศจำเป็นจะต้องมีการทำ SMS เตือนภัยหรือระบบเตือนภัยสาธารณะเพื่อเป็นการป้องกันดูแลประชาชนของตนเองขึ้น โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการเตือนภัยที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต
ในสหรัฐอเมริการเน้นการเตือนภัยไปที่ภัยพิบัติต่างๆที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของประชากรในประเทศของเขา ผ่านระบบSMS Alert ซึ่งเทียบเท่ากับกรมอุตุฯของประเทศเรา นอกจากจะส่งข้อความเตือนได้แล้ว ระบบข้อความเตือนภัยของสหรัฐฯ ยังสามารถส่งคำสั่งอพยพไปยังประชาชนทั้งระดับและระดับชาติ โดยข้อความจะถูกส่งตรงจากประธานาธิบดีสู่ประชาชน
ระบบ SMS Alert ของสหรัฐฯที่น่าสนใจอีกระบบหนึ่งคือ ระบบ Amber Alert เป็นระบบที่จะติดตามและช่วยเหลือเด็กหายแบบเรียลไทม์ในเวลา 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กจะยังปลอดภัยและรอดชีวิตสูงที่สุด โดยระบบนี้สามารถจำลองสถานการณ์จริงรวมไปทั้งข้อมูลต่างๆที่สำคัญ ส่งไปยังประชากรทุกคนให้ช่วยกันสอดส่อง
เมื่อพูดถึงทวีปออสเตรเลีย เราจะนึกถึงธรรมชาติที่สวยงามและประเทศต่างๆที่มีความน่าสนใจดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้หลงใหล หากแต่ว่าทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่มักเกิดไฟป่ารุนแรง ระบบเตือนภัยผ่าน SMS หรือข้อความ เรียกว่า Emergency Alert Australia ถูกใช้เมื่อล่าสุดในเหตุการไฟป่า ส่งข้อความเสียงไปยังเบอร์โทรศัพท์บ้าน และส่งเป็นรูปแบบข้อความไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากรในพื้นที่ที่ถูกประเมินแล้วว่าจะเกิดความเสี่ยงได้
กลับมาที่ทวีปเอเชีย เมื่อพูดถึงเอเชียจะขอยกตัวอย่างระบบเตือนภัยของประเทศแห่งเทคโนโลยีอย่าง ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่ณถือว่าเป็นประเทศที่มีการเตรียมตัวตั้งรับกับภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยระบบ SMS เตือนภัย อย่าง J-Alert เป็นระบบที่ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมและอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศในการเผยแพร่ แจ้งเตือนภัยพิบัติให้ประชาชนในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย และอพยพผู้คนได้ทันท่วงที
ในหลายๆครั้งที่ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้คร่าชีวิตผู้คนในแต่ละประเทศทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก หากเราจะได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้น จะช่วยลดความเสียหายได้เป็นจำนวนมาก การมี SMS Alert ที่คอยแจ้งเตือนเราในทุกสถานการณ์ที่เกิดเหตุเลวร้าย เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ควรพัฒนาต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยของผู้คนในประเทศ และถือเป็นการเริ่มต้นตั้งรับที่ดีต่อคุณด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง